วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศของ 2 ธุรกิจ

ฟูจิ เล็งขายแฟรนไชส์ลุยตปท.ทุ่ม 400 ล.ผุดบูติกโฮเต็ลขยายฐาน
ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่าประเทศ
1.ศึกษาข้อมูลของประเทศที่เราจะไปลงทุนในเรื่องของลักษณะการดำรงชีวิต  สังคม  รายได้  วัฒนธรรมประเพณี  และศาสนาว่าเป็นอย่างไร  โดยการสุ่มสัมภาษณ์กล่มคนในประเทศนั้นๆ
2.ไม่ควรทำการลงทุนหรือร่วมลงทุนในประเทศที่เป็นเจ้าของอาหารญี่ปุ่น เพราะจะทำให้เสียเปรียบในเรื่องของการแข่งขัน  เนื่องจากเราไม่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องของอาหารมากเท่ากับประเทศเจ้าของอาหาร
3.ทำการศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจโรงแรมในเรื่องของลักษณะการท่องเที่ยว  ช่วงเวลาไหน  เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการลงทุน
4. จะต้องคำนึงถึงระบบการขนส่งสินค้า  การให้บริการ  แหล่งซื้อวัตถุดิบต่างๆ ให้ดี  เนื่องจากมีการขยายสาขาที่มากขึ้น


เอ็มเค ฉลองครบ 300 สาขา ย้ำความสำเร็จนวัตกรรมบริการ
ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่าประเทศ
1. ศึกษาข้อมูลในเรื่องการดำรงชีวิต  สังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  และวัฒนธรรมในประเทศที่ต้องการเข้าไปลงทุน
2.ควรเจาะตลาดแถบเอเชียมากกว่าตลาดแถบยุโรป  เพราะ เอ็มเคมีจุดขายตรงที่เป็นอาหารสำหรับครอบครัว  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเอเชีย
3. ลดการนำเข้าสินค้าจากประเทศแม่โดยการนำวัตถุดิบของประเทศที่ลงทุนมาดัดแปลงให้เข้ากับเมนูอาหาร
4. จัดทำโปรโมชั่นสำหรับวันหยุดหรือเทศกาลต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOT Analysis [ส่งออกอัญมณีของไทยไปอังกฤษ]

จุดแข็ง : Strengths
  1. ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีของโลก  ทำให้ผู้ผลิตอัญมณีของไทยมีความได้เปรียบในการจัดหาวัตถุดิบที่หลากหลาย มีคุณภาพดี และราคาถูก
  2. ไทยมีเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มมูลค่าพลอยด้วยเทคนิคการเผาหรือหุงพลอย  และรูปแบบการเจียระไนอัญมณี  ทำให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง
  3. แรงงานไทยมีทักษะสูงและมีฝีมือประณีตในการขึ้นรูปเครื่องประดับด้วยมือ 
จุดอ่อน : Weaknesses
  1. การขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ  เนื่องจากพลอยดิบมีแนวโน้มลดลง  และไม่มีเพชรดิบ  ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก
  2. เทคโนโลยีด้านการออกแบบและการเจียระไนยังเป็นรองของอินเดีย  ทำให้ไม่จูงใจผู้ซื้อเท่าที่ควร
  3. ไทยขาดการพัฒนาการออกแบบด้วยตนเอง  แต่เน้นการผลิตตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศด้วยเครื่องจักร  แม้ว่าช่างไทยมีความสามารถเฉพาะตัวในระดับสูง
โอกาส : Opportunities
  1. เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว  ทำให้ประเทศต่างๆ มีกำลังซื้อสูงขึ้น  ส่งผลดีต่อการส่งออกอัญมณีไทย
  2. รัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น  เรื่องของการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบจำพวกอัญมณี  การจัดโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์อัญมณีและเครืาองประดับให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ  และผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก
  3. ไทยมีหน่วยงานวิเคราะห์และตรวจสอบอัญมณีหลายแห่งที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
  4. ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเซีย  ทำให้ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของไทยขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
  5. การเข้าร่วมโครงการป้องกันการค้าเพชรที่ยังไม่ได้เจียระไนโดยผิดกฎหมายภายใต้ข้อตกลง Kimberley Process  ทำให้อัญมณีและเครื่องประดับของไทยลดความเสี่ยงจากการถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้า
  6. การอ่อนตัวของค่าเงินบาท  ดึงดูดการสั่งซื้ออัญมณีไทย
อุปสรรค : Threats
  1. ไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีนและอินเดีย  ที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุน  ค่าจ้างแรงงานและความพร้อมของวัตถุดิบหลักหลายชนิด 
  2. อินเดียและศรีลังกาได้เร่งศึกษาและพัฒนาการเผาพลอยตามแบบไทย
  3. ประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มนำมาตราการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี  มาใช้แทนมาตราการทางภาษีศุลกากรที่ค่อยๆ ปรับลดลงจากการเปิดเสรีทางการค้า
  4. ต้นทุนค่าจ้างแรงงานของไทยสูงกว่าคู่แข่งอย่างจีนและอินเดีย  ทำให้มีการย้ายฐานการลงทุนจากไทยไปยังประเทศคู่แข่งดังกล่าว

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่งออกอัญมณีไทย

      สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ในลักษณะที่เป็นชิ้นงานจากโรงงาน ผลิตเป็นสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่คาดว่าจะเริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้ง จากผลพวงเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว จากในปี 2552 สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยช่วง 11 เดือนแรกมีอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกขยายตัว 30% แต่ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นการเก็งกำไรจากการส่งออกทองคำ ซึ่งในรอบปี 2552 ที่ผ่านมาราคาทองคำในตลาดโลกได้ขยับขึ้นระดับ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์       สำหรับในปี 2553 วิชัย  อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับคาดหมายมูลค่าการส่งออกจากทั้งสองส่วนคืออัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นชิ้นงาน และการส่งออกทองคำจะส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 400,000 ล้านบาท จากปี 2552 คาดส่งออกมูลค่า 350,000 ล้านบาท เหตุผลหลักจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว เป็นผลจากการที่รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบอัญมณีนำเข้า ทั้งเพชร พลอย และโลหะมีค่าอื่นๆ ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง รวมถึงกรอบความตกลงเอฟทีเอในหลายกรอบที่จะลดภาษีนำเข้าระหว่างกันลงเป็น 0% เช่น อาฟต้า จีน อินเดีย เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้เชื่อว่าจะทำให้การส่งออกอัญมณีฯของไทยกลับมาขยายตัวมากขึ้นโดยเฉพาะอัญมณีที่เป็นชิ้นงาน ส่วนการส่งออกทองคำคาดจะยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง

ที่มา :
http://investment.ic.or.th/investmentwindow/viewall.php?newsid=2571

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ห้างแฮรอดส์ (Harrods)

       อภิมหาเศรษฐีชาวอียิปต์ชื่อ อัลฟาเยด เป็นเจ้าของกิจการตั้งอยู่บนบรอมตันแถวๆย่าน " ไนท์บริดจ์ "(Knightsbridge) ห้างแฮรอดส์ (Harrods) ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงลอนดอนเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นห้างหรูด้วยในเวลาเดียวกัน ประกอบด้วยร้านค้ากว่า 300 ร้านในพื้นที่ทั้งหมดเจ็ดชั้น จึงเป็นที่ที่เหมาะสำหรับการใช้เวลาเดินเที่ยวและจับจ่ายใช้สอย การตกแต่งภายในของที่นี่ก็มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ มีความเป็นอียิปต์เข้ามาผสมผสานด้วย
       เทศกาลลดราคาของที่นี่อาจจะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุด และเป็นเหมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดผู้คนนับพัน มาที่ห้างสุดหรูแห่งนี้เพื่อเป็นเจ้าของสินค้าหรูในราคาแสนถูกแบบไม่น่าเชื่อ

 

** ถ้าใครสนใจก็ลองไปเที่ยวกันดูนะคะ **

แหล่งที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/72425

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่าง "การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ"

การตลาดระหว่างประเทศคือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
     การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
แหล่งที่มาของข้อมูล
www1.webng.com/logisticseminar/

  
  การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า"(imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก"(exports)ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะ เป็นทั้งประเทศผู้นำสินค้าเข้า และประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้าแตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง

  สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
       1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมากกว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มีทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น
       2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้า และบริการแตกต่างกัน  บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้าบางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบางอย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภคในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น

แหล่งที่มาข้อมูล
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html


ความแตกต่างระหว่าง   
การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ

      การตลาดระหว่างประเทศ คือ ธุรกิจจะทำการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด โดยการศึกษาและสำรวจถึงความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มตลาดเป้าหมายของตลาดประเทศที่ธุรกิจจะทำการตลาดเพื่อที่จะตอบสนองได้ตรงความต้องการของตลาดแต่ละประเทศ
      แต่ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกันประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง